เปิดตำนานราเมง อาหารเส้นมัดใจคนทั่วโลก

อาหารถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติต่าง ๆ รวมถึงประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานอย่างญี่ปุ่นก็มีหลากหลายเมนูที่คนทั่วโลกชอบหนึ่งในนั้นก็คงจะเป็นราเมงอาหารประเภทเส้นที่มีหลากหลายรสชาติ เชื่อว่าผู้อ่านหลาย ๆ ท่านคงเคยทานและคุ้นชินกันไม่มากก็น้อย แต่วันนี้เราจะมาทำหน้าที่เหมือนกล้องติดรถยนต์ที่คอยสอดส่องเรื่องราวมาเป็นข้อมูลเพื่อให้คุณรู้จักราเมงกันให้มากกว่าเดิม

    แม้ว่าจะไม่สามารถระบุเวลาที่ชัดเจนว่าราเมงเกิดขึ้นในช่วงใดแต่คาดกันว่าต้นกำเนิดของราเมงมาจากประเทศจีน โดยราเมงอาจจะเพี้ยนมาจากภาษาจีนในคำว่าลาเมียนซึ่งหมายถึงก๋วยเตี๋ยวโบราณนั่นเอง ในประวัติศาสตร์มีบันทึกไว้ว่า โตกุงะวะ มิสึคุนิ ได้รับประทานราเมงในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในช่วงยุคเมจิ

    เมื่อถูกนำมาปรุงแต่งด้วยเครื่องปรุงรสของญี่ปุ่นอย่างโซยุและเต้าเจี้ยวญี่ปุ่นก็ทำให้มีเอกลักษณ์ทางรสชาติที่โดดเด่นขึ้นมา ซึ่งมักจะทานคู่กับ เนื้อหมู สาหร่าย คะมะโบะโกะ ต้นหอมหรือข้าวโพด ด้วยความนิยมทำให้ได้แพร่หลายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น

    ในปี ค.ศ. 1900 บรรดาพ่อค้าได้มีการขายราเมนคู่กันกับเกี๊ยวซ่า และในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 หรือสมัยโชวะก็มีการโฆษณาเรียกลูกค้าด้วยการเป่าเครื่องดนตรีที่เรียกว่า ชารุเมระ ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงรูปแบบเฉพาะตัวและความน่าสนใจของอาหารประเภทนี้ไปอีก

    ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุคที่รถยนต์ยังไม่มีเครื่องเล่น CD หรือกล้องติดรถยนต์ ทหารญี่ปุ่นที่กลับมาจากการประจำการในจีนก็เริ่มใช้ความรู้และรสชาติที่เคยกินในประเทศจีนมาใช้ทำราเมงและเปิดเป็นร้านข้างทางจนเป็นภาพติดตามาจนถึงทุกวันนี้ โดยแต่ละจังหวัดก็จะมีสูตรเฉพาะแตกต่างกัน เช่นในเกาะคีวชู ต้นกำเนิดของทงโคสึราเมง (ราเมงซุปกระดูกหมู) หรือในเกาะฮกไกโด ต้นกำเนิดของมิโซะราเมง (ราเมงเต้าเจี้ยว)

    ในปัจจุบัน ราเมนได้มีการพัฒนาเมนูขึ้นมาหลากหลายรสชาติและหารับประทานได้ง่ายมากในประเทศญี่ปุ่น เพราะมีขายอยู่แทบทุกตรอกซอกซอย เรียกได้ว่าถ้าขับรถไปตามถนน กล้องติดรถยนต์จะต้องบันทึกภาพร้านราเมงได้หลายร้านแน่ ๆ

    ในปัจจุบันประเภทของราเมงที่ได้รับความนิยมจะมีดังนี้

    โชยุ (SHOYU) หรือซุปซีอิ๊วญี่ปุ่น

    ใช้เครื่องปรุงรสญี่ปุ่นแท้ ๆ อย่างโชยุเป็นส่วนประกอบกับนํ้าซุปทำให้มีรสชาติอมเปรี้ยวนิด ๆ และมีความหอม เหมาะกับทานคู่กับเครื่องเคียงอย่างเกี๊ยวซ่าเป็นอย่างมาก

    มิโซะ(MISO) หรือซุปเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น

    เป็นราเมงตามแบบฉบับญี่ปุ่นแท้ ๆ เนื่องจากมีการใช้เต้าเจี้ยวญี่ปุ่นเป็นส่วนผสมหลักต้นกำเนิดมาจากที่เมืองซัปโปโรจังหวัดฮอกไกโดที่มีอากาศหนาวเย็นจึงมีส่วนผสมของนํ้ามันหมูซึ่งช่วยทำให้ร่างกายของผู้ที่กินอบอุ่น

    ทงคตสึ (TONKOTSU) หรือซุปกระดูกหมู

    เป็นที่ขึ้นชื่อของเมืองฮากาดะและคุรุเมะจังหวัดฟุคุโอกะ ความโดดเด่นมาจากนํ้าซุปเข้มข้นกลมกล่อมที่ได้จารเคี่ยวกระดูกหมูเป็นเวลานาน โดยปกติจะใช้เส้นแบบบางตรงเพื่อให้ดูดซับรสชาติของซุปกระดูกหมูได้อย่างเต็มที่ โดยในโตเกียวมีการพัฒนาเมนูนี้โดยใช้หมูสามชั้นย่างเป็นเครื่องเคียง

    เกียวไค (GYOKAI) หรือซุปอาหารทะเล

    นํ้าซุปที่ใช้ได้มาจากกระดูกหมู ไก่ และอาหารทะเลหลายชนิด น้ำซุปจึงมีความเข้มข้นมาก มีทั้งแบบใสและแบบข้น เป็นที่นิยมแพร่หลายในโตเกียวบางร้านจะมีการเติมเศษปลาป่นแห้งลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติในนํ้าซุปด้วย

    โทริ (TORI) หรือซุปกระดูกไก่

    ข้อดีของประเทศญี่ปุ่นคือการที่ไม่ยอมหยุดพัฒนาสิ่งต่าง ๆ รวมถึงราเมงรสชาติใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในยุค ค.ศ. 2000 โดยนํ้าซุปได้มาจาการต้มกระดูกไก่กับเนื้อไก่ รสชาติของนํ้าซุปหอมอร่อย ซดง่าย คล่องคอ ไม่เข้มข้นหรือติดรสขมนอกจากนี้ยังเพิ่มความอร่อยจากเนื้อไก่และลูกชิ้นเนื้อไก่ที่เป็นเครื่องเคียงอีกด้วย

    อุชิ (USHI) หรือซุปเนื้อ

    ราเมงซุปเนื้อถือเป็นที่นิยมมากในช่วงยุคหลัง เพราะมีนํ้าซุปที่เข้มข้นและหอมหวานแตกต่างจากประเภทอื่น ๆ เครื่องเคียงที่ใช้ก็คือเนื้อวัวย่างที่ยิ่งเพิ่มความกลมกล่อมเข้าไปอีก

    จะเห็นได้ว่าเจ้าแห่งเทคโนโลยีอย่างประเทศญี่ปุ่นที่ทำตั้งแต่กล้องติดรถยนต์ไปจนถึงเครื่องบินโดยสารก็ยังคงไม่ทิ้งเรื่องราวทางด้านวัฒนธรรมในรูปแบบอาหาร น่าปรบมือให้จริง ๆ